เทคโนโลยี AR


เทคโนโลยี AR



        Augmented Reality หรือ AR คือ เทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกแห่งความจริง ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูงในปัจจุบัน จะเห็นได้จากการเปิดตัว Pokemon GO เกมบน Smartphone ที่ผสมผสาน AR ในการเล่นจากค่าย Nintendo ก็ได้รับความนิยมและทำรายได้มหาศาลในช่วงเวลาที่ผ่านมา
        Pokemon GO คือจุดเปลี่ยนที่ทำให้เทคโนโลยี AR ดูเป็นเรื่องใกล้ตัวผู้บริโภคมากขึ้น มีการนำ AR ไปประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลายในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านศิลปะ การแพทย์ การศึกษาและการพาณิชย์เป็นต้น



        การนำ AR มาประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆ
🚗 ด้านอุตสาหกรรมรถยนต์ : วิศกรบริษัท BMW ได้ใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงมาช่วยในการผลิต โดยการสวมแว่นตาที่มีส่วนแสดงผล ซึ่ง AR จะแสดงขั้นตอนการประกอบและระบุเครื่องมือที่จะใช้ในการผลิตได้
🛏 ด้านอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ : บริษัท IKEA ได้ใช้ AR แอพพลิเคชั่นในการให้ลูกค้าสามารถดูได้ก่อนว่า หากมีเฟอร์นิเจอร์ที่ต้องการนำมาวางไว้จะเป็นลักษณะใด และเข้ากับห้องหรือสถานที่ที่เราต้องการหรือไม่ ก่อนตัดสินใจซื้อจริง
📺 ด้านอุตสาหกรรมสื่อโทรทัศน์ : เทคโนโลยีด้าน AR ทำให้รายการต่างๆ มีคอนเท้นท์ที่รองรับระบบ AR บนโทรทัศน์เพิ่มมากขึ้น ผู้รับชมจะได้รับมุมมองภาพแบบสามมิติและสามารถมีปฏิสัมพันธ์ในการโต้ตอบกับส่วนใดส่วนหนึ่งในเนื้อหารายการได้


        ความเป็นมาของ  AR
        เทคโนโลยีนี้ได้ถูกพัฒนามาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2004 เป็นงานวิจัยด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ด้วยการเพิ่มภาพเสมือนของโมเดลสามมิติที่สร้างจากคอมพิวเตอร์ลงไปในภาพที่ถ่ายมาจากกล้องวิดีโอ แบบเฟรมต่อเฟรมด้วยเทคนิคทางด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก แต่ด้วยข้อจำกัดทางเทคโนโลยีจึงมีการใช้ไม่แพร่หลายเท่าไหร่  หากแต่ปัจจุบันเทคโนโลยีมีความจริญมากขึ้น ทำให้เทคโนโลยีที่อยู่แต่ในห้องทดลอง กลับกลายมาเป็นแอพที่สามารถดาวน์โหลดมาใช้งานกันง่าย ๆ ไปแล้ว

        AR เป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่ผสานเอาโลกแห่งความเป็นจริง (Real) เข้ากับโลกเสมือน (Virtual) โดยผ่านอุปกรณ์ทางด้านฮาร์ดแวร์รวมกับการใช้ซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ทำให้สามารถมองเห็นภาพที่มีลักษณะเป็นวัตถุ (Object) แสดงผลในจอภาพกลายเป็นวัตถุ 3 มิติ ลอยอยู่เหนือพื้นผิวจริง ดูมีมิติมีความตื่นเต้นเร้าใจ โดยสามารถนำรูปแบบใหม่ของการนำเสนอสินค้าลอยออกมานอกจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นการนำเสนอรูปแบบใหม่ในโลกสังคมออนไลน์หรือการตลาดออนไลน์อีกทางหนึ่ง

        หลักการทำงาน โดยแบ่งประเภทตามส่วนวิเคราะห์ภาพ เป็น    2  ประเภท ได้แก่ 
การวิเคราะห์ภาพโดยอาศัย Marker เป็นหลักในการทํางาน (Marker based AR)   
การวิเคราะห์ภาพโดยใช้ลักษณะต่าง ๆ ที่อยู่ในภาพมาวิเคราะห์ (Marker-less based AR) 

        หลักการของเทคโนโลยีเสมือนจริง ประกอบด้วย
Marker (หรือที่เรียกว่า Markup)
กล้องวิดีโอ เว็บแคม  กล้องโทรศัพท์มือถือ หรือ ตัวจับ Sensor อื่นๆ
ส่วนการแสดงผลภาพ เช่นจอภาพจากอุปกรณ์แสดงผล
ซอฟต์แวร์ส่วนประมวลผลเพื่อวัตถุแบบสามมิติ object 3D



แหล่งที่มา : >> Click here! << [1]  /  >> Click here! << [2]

⚀⚁⚂⚃⚄⚅ ⚀⚁⚂⚃⚄⚅ ⚀⚁⚂⚃⚄⚅ ⚀⚁⚂⚃⚄⚅



ความคิดเห็น